โรคของการขาดแคลเซียมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ เมทาบอลิซึมของกระดูก
Metabolic Bone Disease
สัตว์เลื้อยคลานในธรรมชาติส่วนใหญ่สังเคราะห์วิตามิน D3 จากรังสี UVB ที่ได้จากแสงแดด ซึ่งวิตามิน D3 เป็นสิ่งจำเป็นต่อประสิทธิภาพของกระบวนการเมทาบอลิซึม (Metaboisim) แคลเซียมในสัตว์เลื้อยคลาน โดยมี UVB เป็นตัวกระตุ้นการสร้างวิตามิน D3 ในชั้นผิวหนัง
กระบวนการจะเริ่มต้นที่การสร้างสารประกอบโปรวิตามิน D3 (7-dehydrocholesterol) ประกอบกับความร้อนและกลไกในชั้นผิวหนังจะเปลี่ยนโปรวิตามิน D3 ไปเป็นวิตามิน D3 (cholecalciferol) จากนั้นตับและไตจะเปลี่ยนรูปวิตามิน D3 ให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสัตว์สามารถนำไปใช้งานได้เรียกว่า ไฮดร๊อกซีวิตามินดี (1,25, hydroxy-vitamin D) ซึ่งเป็นตัวควบคุมเมทาบอลิซึมแคลเซียม
สัตว์เลื้อยคลานประเภทกินเนื้อ และประเภทกินทั้งเนื้อและพืช ได้รับวิตามิน D3 จากอาหารเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับความต้องการวิตามิน D3 ของตัวสัตว์เอง
ส่วนในอาหารจำพวกพืชนั้นจะไม่มีวิตามิน D3 อยู่ แต่จะมีวิตามิน D2 (ergocalciferol) แทน ซึ่งวิตามิน D2 มีประสิทธิภาพเมทาบอลิซึมแคลเซียมน้อยกว่าวิตามิน D3
ดังนั้นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกินพืช จึงมีความต้องการรังสี UVB แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานประเภทกินเนื้ออยู่มากทั้งในเชิงของคุณภาพ และปริมาณ
รังสี UVB โดยทั่วไปจะมีวงจำกัดความยาวคลื่นจาก 290-320 nm แต่ช่วงความยาวคลื่น 290-305 nm เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด คลื่นแสงในวงแคบๆของช่วง UVB นี้ มีความจำเป็นต่อขนวนการสังเคราะห์วิตามิน D3 ภายในชั้นผิวหนัง
ถึงแม้ว่าความยาวคลื่นต่ำกว่า 310 nm จะสนับสนุนการสังเคราะห์วิตามิน D3 แต่ความยาวคลื่นที่สูงกว่า 310 nm สามารถทำลายวิตามิน D3 ที่ถูกสังเคราะห์แล้วในชั้นเนื้อเยื่อผิวหนัง หรือคงสภาพไว้
ถ้าสัตว์ได้รับวิตามิน D3 ไม่เพียงพอจะส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกนิ่มอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า (Metabolic Bone Disease) โรคมีผลต่อมวลกระดูก
Metabolic Bone Disease จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขบวนการเมทาบอลิซึมอื่นๆที่ร้ายแรงด้วย รวมไปถึงอาการบวม เซื่องซึม อ่อนเพลีย สั่นเทา และกระดองนิ่มในสัตว์ประเภทเต่า
นอกจากปัจจัยทางด้านรังสี UVB แล้ว อาหารควรมีระดับของแคลเซียมที่เพียงพอ หรือมีความจำเป็นที่ต้องให้ในลักษณะสารอาหารเสริม
ลูกสัตว์เลื้อยคลานจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้ ในสัตว์โตเต็มวัย ก็สามารถได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหากอยู่ในภาวะขาดแคลนแคลเซียมเป็นระยะเวลานาน และเช่นเดียวกับสัตว์ในช่วงวางไข่ จะมีผลกระทบมากเช่นเดียวกันเนื่องความต้องการแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างฟองไข่
อาหารของสัตว์กินพืช และ สัตว์กินเนื้อมักจะขาดแคลเซี่ยม และ มีฟอสฟอรัสสูง ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียมที่มีฟอสฟอรัส เพื่อป้องอัตราส่วนที่ไม่สมดุล และขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม อัตราส่วนที่เหมาะสมของแคลเซียมอาหารต่อฟอสฟอรัส (Ca : P) ไม่ควรน้อยกว่า 1.2 : 1 หรือ 2 : 1 ถึง 8 : 1 (ขึ้นอยู่กับความต้องการของสัตว์แต่ละชนิด)
ดัชนีผลผลิต D3 (D3 Yield Index)
สัดส่วนของพลังงานรังสี UVB ในแต่ละช่วงที่ให้การสังเคราะห์วิตามิน D3 ในระดับต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณหาดัชนีผลผลิต D3
หากไม่มีรังสี UVB จากหลอดที่มีประสิทธิภาพเฉพาะ ในช่วงคลื่นของการสร้างโปรวิตามิน D3 (7-dehydrocholesterol) เพื่อเปลี่ยนรูปวิตามิน D3 แล้ว แสดงว่าหลอดดังกล่าวไม่มีความสามารถในการช่วยสังเคราะห์แสง
จึงสรุปได้ว่าอัตราส่วนร้อยละของรังสี UVB จากปริมาณรังสีรวมทั้งหมดไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ประสิทธิภาพที่แท้จริงของหลอดต่อขบวนการผลิตวิตามิน D
จากข้อมูลที่นำเสนอข้างต้นแล้ว ในฐานะผู้เลี้ยง เราควรจะเอาใจใส่ให้สัตว์ที่เรารักมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากอาการเจ็บป่วยต่างๆที่อาจเกิดจากโภชนาการและการเลี้ยงดู ยังไงแล้วการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขเสมอ สัตว์แข็งแรงย่อมส่งผลให้คนเลี้ยงสุขใจ
ขอให้สัตว์เลี้ยงของทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง ให้เค้ารู้สึกเหมือนอยู่ในบ้านของตัวเองมากที่สุด
สนับสนุนข้อมูลดีดีโดย Exo Terra “Make your reptiles feel at home”
0 Comments for “MBD โรคร้ายที่ป้องกันได้”